Did You Know?

ออกกำลังกายแบบไหนเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
อย่างที่ทราบกันดีว่า ร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันตามภาวะสุขภาพเฉพาะบุคคล ส่งผลให้การออกกำลังกายของผู้สูงอายุแต่ละคนก็ควรจะแตกต่างกันด้วย วันนี้จึงชวนคุณมาตอบคำถามต่อไปนี้เพื่อตรวจเช็คว่า ควรออกกำลังกายแบบไหนให้เหมาะกับสุขภาพของตัวเองค่ะ

ท่านสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น อาบน้ำแต่งตัว กินอาหาร เข้าห้องน้ำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย
>ใช่          >ไม่ใช่
ท่านสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการหกล้ม ใช่หรือไม่
>ใช่          >ไม่ใช่
เมื่อนั่งเก้าอี้ ท่านสามารถลุกยืนขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้มือยัน และยืนได้อย่างมั่นคง ใช่หรือไม่
>ใช่          >ไม่ใช่
ท่านสามารถยืนโดยวางส้นเท้าต่อกับปลายเท้าได้นานกว่า 10 วินาที ใช่หรือไม่
>ใช่          >ไม่ใช่

หากตอบว่า ใช่ ทั้ง 4 ข้อ ให้ออกกำลังกายในระดับยาก
หากมีบางข้อตอบว่า ไม่ใช่ ให้ออกกำลังกายในระดับง่าย

6 ท่าฝึกการเดินและการทรงตัว

  • ท่ายืนต่อเท้าแบบมีราวจับ
    ยืนตรง หันหน้าเข้ากำแพง ใช้มือจับราว เอาเท้าข้างหนึ่งไปวางต่อเท้าอีกข้างหนึ่งเป็นเส้นตรง ค้างไว้ 10 นาที จากนั้นเปลี่ยนอีกข้าง ทำด้วยวิธีเดียวกัน
  • ท่าเดินต่อเท้าแบบมีราวจับ
    ยืนตรง หันข้างซ้ายเข้ากำแพง ใช้มือซ้ายจับราว ค่อยๆ เดินก้าวไปข้างหน้าในลักษณะที่ปลายเท้าต่อส้นเท้า และเดินไปเรื่อยๆ จนครบ 10 ก้าว กลับตัว ทำเหมือนกัน 10 ก้าว ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  • ท่ายืนขาเดียวแบบมีราวจับ
    หันข้างซ้ายเข้ากำแพง จับราวจับให้มั่นคง ยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้น แล้วยืนด้วยขาข้างเดียวนาน 10 วินาที จากนั้นเปลี่ยนข้างแล้วทำอย่างเดิม
  • ท่าเดินด้วยส้นเท้าแบบมีราวจับ
    ใช้มือจับราว ค่อยๆ ยกปลายเท้าขึ้นจนยืนด้วยส้นเท้า จากนั้นเดินด้วยส้นเท้าไป 10 ก้าว และค่อยๆ ลดปลายเท้าลง กลับตัว และเดินด้วยส้นเท้าอีก 10 ก้าว ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  • ท่าลุกจากเก้าอี้
    นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงแข็งแรง วางเท้าหลังหัวเข่า ค่อยๆ โน้มตัวไปด้านหน้าและลุกขึ้น โดยใช้มือทั้งสองข้างหรือข้างเดียว หรือไม่ใช่มือพยุงตัว ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  • ท่าออกกำลังกายระดับยาก
    ทำเหมือนท่าระดับง่าย แต่จะยากกว่าตรงที่ไม่มีราวจับ หรือเก้าอี้เป็นตัวช่วยจับยึด

จาก คอลัมน์ เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 487 (16 มกราคม 2562)